TH

อาการปวดเส้นประสาท

อ่านเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอาการปวดเส้นประสาท (nerve pain)

อาการปวดเส้นประสาทคืออะไร?

อาการปวดเส้นประสาทคือความเจ็บปวดที่เกิดจากความเสียหายหรือโรคที่ส่งผลต่อเส้นประสาท ไขสันหลัง หรือสมอง แพทย์อาจระบุอาการปวดเส้นประสาทว่าเป็นอาการปวดจากเส้นประสาทถูกทำลาย(neuropathic pain) (1),(2)

เมื่อเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บหรือเสียหาย อาจทำให้ “ส่งสัญญาณผิดพลาด” (misfire) และส่งสารไปยังไขสันหลังและสมองเอง
ไขสันหลังและสมองจึงตีความสารที่ถูกส่งมานี้ว่าเป็นความเจ็บปวด

ส่วนใหญ่แล้ว อาการปวดเส้นประสาทมักเป็นอาการเรื้อรัง ซึ่งหมายความว่าอาการปวดนี้อาจคงอยู่เป็นระยะเวลานานหลายเดือนโดยไม่มีสาเหตุที่ชัดเจน (3)
อาการปวดเส้นประสาทอาจเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ (3):

การดื่มสุรามากเกินไป

โรคหลอดเลือดสมอง

การบาดเจ็บของไขสันหลัง

ความผิดปกติทางโภชนาการ/การเผาผลาญ

อาการติดเชื้อ/ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ยาบางชนิด

อาการปวดเส้นประสาทมักเพิ่มขึ้นตามช่วงอายุและความรุนแรงของโรคประจำตัว (3)

อาการปวดเส้นประสาทพบได้บ่อยแค่ไหน?

สิ่งสำคัญคือการตระหนักว่าคุณไม่ได้เผชิญปัญหาอาการเจ็บปวดนี้ตามลำพัง (3)

อาการปวดเส้นประสาทนั้นกระทบผู้คนมากมายและอาการอาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล

หากคุณมีอาการเจ็บปวดที่ไม่หายซักที คุณควรขอทำนัดกับแพทย์เพื่อขอคำปรึกษา

มีประชากรประมาณ
5-20%
ที่ประสบปัญหาอาการ
ปวดเส้นประสาท (4-9)

อาการปวดเส้นประสาทเป็นอย่างไร ?

อาการปวดเส้นประสาทมักได้รับการอธิบายว่าเป็นความรู้สึกยิบ ๆ แปลบปลาบคล้ายเข็มตํา ปวดแสบปวดร้อน ปวดเหมือนข้อติดขัด ปวดเหมือนถูกแทง ปวดแปลบ หรือปวดเหมือนไฟช็อต(3)

ความเจ็บปวดเหล่านี้อาจเป็นอยู่ตลอด หรืออาจเป็น ๆ หาย ๆ และมักปวดมากขึ้นในช่วงเวลากลางคืน (10)

ปวดเหมือนไฟช็อต

ปวดแปลบ/ ปวดเหมือนถูกแทง

ปวดแสบปวดร้อน/ เหมือนโดนไฟไหม้

รู้สึกยิบ ๆ / แปลบปลาบคล้ายเข็มตํา

อาการปวดเหมือนข้อติดขัด

หากคุณมีอาการปวดเส้นประสาท บริเวณที่มีอาการปวดอาจไวต่อความรู้สึกมากอย่างผิดปกติ ตัวอย่างเช่น ความรู้สึกสัมผัสที่ปกติแล้วไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด เช่น เสื้อผ้าเสียดสีกับผิวหนังหรืออากาศเย็น เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างมาก (3)

อย่าเพิกเฉยต่ออาการเจ็บปวดของคุณ

อาการปวดเส้นประสาทสามารถส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของคุณ (12) นอกจากความเจ็บปวดแล้ว ความล่าช้าในการรักษาหรือความผิดพลาดในการวินิจฉัยอาการปวดเส้นประสาทอาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น (12):

ความวิตกกังวล

ความผิดปกติด้านการนอน

ภาวะซึมเศร้า

อาการปวดเส้นประสาทนั้นมีวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง หากคุณคิดว่าคุณมีอาการปวดเส้นประสาท ให้ทำนัดเพื่อขอพบแพทย์ สิ่งสำคัญคือ คุณต้องเข้ารับการรักษาหากอาการปวดไม่ดีขึ้น

อาการปวดเส้นประสาทต่างจากอาการปวดชนิดอื่นอย่างไร?

อาการปวดเส้นประสาทแตกต่างจากอาการปวดประเภทอื่น ๆ เนื่องจากเป็นอาการที่ส่งผลต่อระบบประสาทโดยตรง (9)

โดยปกติแล้ว ความเจ็บปวดเป็นวิธีที่ระบบประสาทบอกเราว่าส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายได้รับความเสียหาย ความเจ็บปวดนี้เรียกว่า “ความปวดที่เกิดจากการกระตุ้นตัวรับความปวด” (nociceptive pain) อาการปวดเส้นประสาทนั้นต่างจากความปวดที่เกิดจากการกระตุ้นตัวรับความปวด โดยเป็นผลจากโรคหรือการบาดเจ็บต่อเส้นประสาท อาการปวดเส้นประสาทอาจเรียกอีกอย่างว่า “อาการปวดจากเส้นประสาทถูกทำลาย” (neuropathic pain) ทั้งความปวดที่เกิดจากการกระตุ้นตัวรับความปวด (nociceptive pain) และอาการปวดจากเส้นประสาทถูกทำลาย (neuropathic pain) อาจเกิดขึ้นพร้อมกัน ซึ่งเรียกว่า อาการปวดแบบผสม (mixed pain) (9)

ผู้ที่มีอาการปวดเส้นประสาทอาจมีความรู้สึกปวดเหมือนถูกแทง ปวดแปลบ หรือเหมือนโดนไฟช็อต (3) อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณว่าเส้นประสาทเสียหายและมักจะไม่พบในอาการปวดประเภทอื่น ๆ (9)

คุณรู้จักใครที่มีอาการปวดเส้นประสาทหรือไม่?

คุณอาจรู้จักใครที่มีอาการคล้ายอาการปวดหลังส่วนล่างและมีอาการปวดเส้นประสาทร่วมด้วย? หากคุณรู้จัก คุณสามารถทำตามขั้นตอนปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อช่วยผู้ที่ประสบอาการเจ็บปวดอย่างต่อเนื่องนี้ได้

Reference

References:

  1. Health Direct Australia. Nerve Pain. 2016. Available at: https://www.healthdirect.gov.au/nerve-pain. Accessed on 1st Mar 2017.
  2. International Association for the Study of Pain. IASP Taxonomy. Available at: http://www.iasp-pain.org/Taxonomy. Accessed on 11th Jul 2016.
  3. Freynhagen R, et al. Diagnosis and Management of Neuropathic Pain. BMJ. 2009;339:b3002.
  4. Bouhassira D, et al. Prevalence of Chronic Pain with Neuropathic Characteristics in the General Population. Pain. 2008;136(3):380-387.
  5. De Moraes Vieira EB, et al. Prevalence, Characteristics, and Factors Associated with Chronic Pain with and without Neuropathic Characteristics in São Luis, Brazil. J Pain Symptom Manage. 2012;44(2):239-251.
  6. Elzahaf RA, et al. Translation and Linguistic Validation of the Self Completed Leeds Assessment of Neuropathic Symptoms and Signs (S-LANSS) Scale for use in a Libyan Population. Pain Pract. 2013;13(3):198-205.
  7. Ohayon MM, et al. Prevalence and Comorbidity of Chronic Pain in the German General Population. J Psychiatr Res. 2012;46(4):444-450.
  8. Torrance N, et al. The Epidemiology of Chronic Pain of Predominantly Neuropathic Origin. Results from a General Population Survey. J Pain. 2006;7(4):281-289.
  9. Toth C, et al. The Prevalence and Impact of Chronic Pain with Neuropathic Pain Symptoms in the General Population. Pain Med. 2009;10(5):918-929.
  10. Meyer HP. Neuropathic Pain - Current Concepts. SA Fam Pract. 2008;50(3):40-49.
  11. Pop-Busui R, et al. Diabetic Neuropathy: A Position Statement by the American Diabetes Association. Diabetes Care. 2017;40(1):136-154.
  12. Harden N, et al. Unmet Needs in the Management of Neuropathic Pain. J Pain Symptom Manage. 2003;25(5 Suppl):S12-17.
  13. Haanpää ML, et al. Assessment of Neuropathic Pain in Primary Care. Am J Med. 2009; 122(10 Suppl):S13-21.