โฟโบรมัยอัลเจียเป็นภาวะเรื้อรัง (มีอาการนานกว่า 3 เดือน) โดยมีอาการปวดกล้ามเนื้อหลายแห่งทั่วร่างกาย (1),(2)

โรคโฟโบรมัยอัลเจียมักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการเหนื่อยล้า ความผิดปกติด้านการนอน และความบกพร่องในการจำ (2),(3)
แม้ว่าสาเหตุของโรคโฟโบรมัยอัลเจียยังไม่เป็นที่เข้าใจแน่ชัด นักวิจัยหลายคนเชื่อว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง (central sensitization) (3) นี่หมายความว่าระบบประสาทส่วนกลาง (สมองและไขสันหลัง) อาจมีการตอบสนองต่อมากขึ้นต่อสิ่งเร้า เช่น การสัมผัส (3)
ปัจจัยหรือภาวะต่าง ๆ ที่อาจกระตุ้นให้เกิดโรคไฟโบรมัยอัลเจีย ได้แก่ (2):

ครอบครัวมีประวัติอาการปวดเรื้อรัง

การติดเชื้อบางอย่างเช่น ไวรัสตับอักเสบ

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

ความเครียดทางจิตใจ

บาดแผลทางร่างกาย/ จิตใจ

โรคแพ้ภูมิตัวเอง (Lupus)
โรคโฟโบรมัยอัลเจียพบได้บ่อยแค่ไหน
โรคโฟโบรมัยอัลเจียนั้นวินิจฉัยได้ยากและบ่อยครั้งมักตรวจไม่พบ ขั้นตอนแรกของการรับการช่วยเหลือและการรักษาที่เหมาะสมคือการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
แจ้งอาการต่าง ๆ ให้แพทย์ทราบเพื่อช่วยในการวินิจฉัยอาการปวดของคุณ

ประชากรประมาณ 2.7% หรือ 200 ล้านคนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากโรคโฟโบรมัยอัลเจีย (4)

ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคโฟโบรมัยอัลเจียมากกว่าผู้ชายถึง 3 เท่า (4)
โรคโฟโบรมัยอัลเจียเป็นภาวะที่มีอาการปวดลุกลามเรื้อรัง (3) เป็นโรคที่มักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาการเหนื่อยล้า ความบกพร่องในการจำ ความผิดปกติด้านการนอนและทางอารมณ์ (2)
ความเจ็บปวดที่กระจายทั่วร่างกายในโรคโฟโบรมัยอัลเจียนั้นได้รับการอธิบายว่าเป็นอาการปวดอยู่ตลอด ปวดตุบ ๆ ปวดแปลบ ปวดเหมือนถูกแทง หรือปวดแสบปวดร้อน (5).

อาการปวดอยู่ตลอด

ปวดตุบ ๆ

ปวดแปลบ

ปวดเหมือนถูกแทง

ปวดแสบปวดร้อน
ผู้ที่เป็นโรคโฟโบรมัยอัลเจียมักมีภาวะอื่น ๆ มากมายร่วมด้วย เช่น โรคข้ออักเสบ ไมเกรน ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และการนอนไม่หลับ (6)
ภาวะทางการแพทย์

เกือบ 9 ใน 10 คนมีอาการปวดข้อเรื้อรังหรือเป็นโรคข้ออักเสบ (arthritis)

เกือบ 2 ใน 3 คนเป็นไมเกรนหรือปวดหัวเรื้อรัง

มากกว่า 50% มีโคเลสเตอรอลสูง (cholesterol)

ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นโรคอ้วน
(BMI › 30)

มากกว่า 2 ใน 5 คนมีความดันโลหิตสูง

เกือบหนึ่งในสามเป็นโรคลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome)
สภาวะสุขภาพจิต

ประมาณ 3 ใน 4 มีภาวะซึมเศร้า

มากกว่าครึ่งเผชิญกับความวิตกกังวล
ภาวะการนอนหลับ

ประมาณ 1 ใน 2 ประสบปัญหานอนไม่หลับ

เกือบหนึ่งในห้ามีอาการขาอยู่ไม่สุข (restless leg syndrome)
การอธิบายอาการเจ็บปวดที่คุณกำลังเผชิญอยู่ให้แพทย์ฟังเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้ถูกต้องและระบุวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด
อย่าเพิกเฉยกับอาการเจ็บปวดของคุณ
โรคโฟโบรมัยอัลเจียสามารถส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของคุณได้อย่างมาก (5)
นอกจากความเจ็บปวดแล้ว ความล่าช้าในการรักษาหรือความผิดพลาดในการวินิจฉัยโรคโฟโบรมัยอัลเจียอาจเพิ่มภาระในการจัดการโรคที่ปรากฏร่วมอื่น ๆ (co-morbidities) เช่น (6):

โรคข้ออักเสบ

โรคอ้วน

ความดันโลหิตสูง

ไมเกรน

ความวิตกกังวล

ภาวะซึมเศร้า

โรคนอนไม่หลับ

โรคเบาหวานชนิดที่ 2
(Type 2 diabetes)

โรคลำไส้แปรปรวน
หากคุณคิดว่าคุณป่วยเป็นโรคโฟโบรมัยอัลเจีย ให้ทำนัดเพื่อขอพบแพทย์ สิ่งสำคัญคือคุณต้องเข้ารับการรักษาหากอาการปวดไม่ดีขึ้น

อาการปวดจากโรคโฟโบรมัยอัลเจียต่างจากอาการปวดชนิดอื่น ๆ เนื่องจากอาการปวดอาจเกิดได้หลายแห่งบนร่างกาย (1),(2) อาการปวดจะเกิดขึ้นบ่อยครั้ง รุนแรง และลงไปถึงเนื้อเยื่อชั้นล่าง เช่น กล้ามเนื้อ (3),(7)
ซึ่งต่างจากกลุ่มอาการปวดเส้นประสาท การบาดเจ็บของเส้นประสาทมักไม่ปรากฏชัดเจนในผู้ป่วยโรคไฟโบรมัยอัลเจียส่วนใหญ่ (7)
โรคไฟโบรมัยอัลเจียอาจส่งผลกระทบต่อแต่ละคนแตกต่างกันออกไป การอธิบายอาการให้แพทย์ทราบถือเป็นสิ่งสำคัญ

คุณรู้จักใครที่เป็นโรคโฟโบรมัยอัลเจียหรือไม่?
คุณอาจรู้จักใครที่มีอาการคล้ายโรคโฟโบรมัยอัลเจีย? หากคุณรู้จัก คุณสามารถทำตามขั้นตอนปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อช่วยผู้ที่ประสบอาการเจ็บปวดอย่างต่อเนื่องนี้ได้

References:
- Arnold LM, et al. Efficacy and Safety of Pregabalin in Patients with Fibromyalgia and Comorbid Depression Taking Concurrent Antidepressant Medication: A Randomized, Placebo-Controlled Study. The Journal of Rheumatology. 2015;42(7):1237–44.
- Clauw D. Fibromyalgia and Related Conditions. Mayo Clinic Proceedings. 2015;90(5):680–92.
- Bellato E. et al. Fibromyalgia Syndrome: Etiology, Pathogenesis, Diagnosis, and Treatment. Pain Res Treat. 2012;2012:426130.
- Queiroz LP. Worldwide Epidemiology of Fibromyalgia. Current Pain and Headache Reports. 2013;17(8):356.
- Damsky D. Getting the Point About Fibromyalgia. Nursing. 2007;37(2):61–4.
- Vincent A, et al. A Cross-Sectional Assessment of the Prevalence of Multiple Chronic Conditions and Medication Use in a Sample of Community-Dwelling Adults with Fibromyalgia in Olmsted County, Minnesota. BMJ Open. 2015;5(3):e006681.
- Koroschetz J, et al. Fibromyalgia and Neuropathic Pain – Differences and Similarities. A Comparison of 3057 Patients with Diabetic Painful Neuropathy and Fibromyalgia. BMC Neurology. 2011;11:55.