อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยอย่างมาก ซึ่งเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับเอ็นยึดกระดูก (ligaments) ข้อต่อเล็ก กล้ามเนื้อ เอ็นยึดกล้ามเนื้อ (tendons) และ/หรือเส้นประสาทที่หลัง (1) อาการปวดนี้อาจมีทั้งความปวดที่เกิดจากการกระตุ้นตัวรับความปวด (ความปวดที่เกิดจากความเสียหายของเนื้อเยื่อหรือการบาดเจ็บ) และความปวดจากเส้นประสาทถูกทำลาย (อาการปวดเส้นประสาท) ซึ่งรู้จักกันในชื่อ อาการปวดแบบผสม (mixed pain) (1),(2) อาการปวดนี้อาจเกิดจากการกดทับเส้นประสาทและ/หรือการอักเสบในกระดูกสันหลัง (3):
อาการปวดหลังส่วนล่างที่มีอาการปวดเส้นประสาทร่วมด้วยอาจเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ (3)

หมอนรองกระดูกเคลื่อนทับเส้นประสาท

กระดูกสันหลังตีบลง

การผ่าตัดหลังหรือกระดูกสันหลังที่ล้มเหลว หรือมีอาการแทรกซ้อน

การบาดเจ็บไขสันหลัง
อาการปวดหลังส่วนล่างที่มีการปวดเส้นประสาทร่วมด้วยสามารถพบได้บ่อยแค่ไหน?
อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นอาการปวดประเภทหนึ่งที่พบได้บ่อย (4) อาการปวดหลังส่วนล่างที่ไม่ดีขึ้นอาจเป็นอาการปวดจากเส้นประสาทถูกทำลาย (neuropathic pain) หรือมีอาการปวดเส้นประสาทร่วมด้วย
การอธิบายอาการของคุณให้แพทย์ทราบเป็นสิ่งสำคัญ เพราะถือเป็นขั้นตอนแรกในการรับการรักษาที่ถูกต้อง


ผู้คนถึง 4 ใน 5 มีอาการปวดหลังส่วนล่างในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต (4)

ผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างประมาณ 20–35% มีอาการปวดเส้นประสาท (3)

ผู้ป่วยสูงอายุ (65 ปีหรือมากกว่า) ถึงประมาณ 2 ใน 5 ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังมีอาการปวดเส้นประสาทร่วมด้วย (5)
อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นภาวะซับซ้อนที่อาจเกี่ยวข้องกับอาการปวดแบบผสมที่เป็นผลจากความเสียหายหรือการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อ (nociceptive pain หรือความปวดที่เกิดจากการกระตุ้นตัวรับความปวด) และอาการปวดเส้นประสาท (1)
อาการปวดเส้นประสาทในอาการปวดหลังส่วนล่างมักได้รับการอธิบายว่าเป็นความรู้สึกยิบ ๆ แปลบปลาบคล้ายเข็มตํา ปวดแสบร้อน ปวดเหมือนข้อติดขัด ปวดเหมือนถูกแทง ปวดแปลบ หรือปวดเหมือนไฟช็อต (3) อาการปวดนี้อาจเป็นอยู่ตลอด หรืออาจเป็น ๆ หาย ๆ อาจลามไปยังบริเวณแขนหรือขา และมักปวดมากขึ้นในเวลากลางคืน (7)

ปวดเหมือนไฟช็อต

ปวดแปลบ/ ปวดเหมือนถูกแทง

ปวดแสบปวดร้อน/ เหมือนโดนไฟไหม้

รู้สึกยิบ ๆ / แปลบปลาบคล้ายเข็มตํา

อาการปวดเหมือนข้อติดขัด

ความปวดแผ่กระจายไปยังแขนและขา
หากคุณมีอาการปวดเส้นประสาท บริเวณที่มีอาการปวดอาจไวต่อความรู้สึกมากอย่างผิดปกติ ตัวอย่างเช่น ความรู้สึกสัมผัสที่ปกติแล้วไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด เช่น เสื้อผ้าเสียดสีกับผิวหนังหรืออากาศเย็น เหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างมาก (3)
อย่าเพิกเฉยกับอาการเจ็บปวดที่เกิดขึ้น
อาการปวดเส้นประสาทสามารถส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตของคุณ (3) นอกจากความเจ็บปวดแล้ว ความล่าช้าในการรักษาหรือความผิดพลาดในการวินิจฉัยอาการปวดเส้นประสาทอาจทำให้เกิดอาการอื่น ๆ ตามมา เช่น (8)

ความวิตกกังวล

ความผิดปกติด้านการนอน

ภาวะซึมเศร้า
อาการปวดเส้นประสาทในอาการปวดหลังส่วนล่างนั้นมีวิธีการรักษาที่เฉพาะเจาะจง
หากคุณคิดว่าคุณมีอาการปวดหลังส่วนล่างที่มีอาการปวดเส้นประสาทร่วมด้วย ให้ทำนัดเพื่อขอพบแพทย์
สิ่งสำคัญคือ คุณต้องเข้ารับการรักษาหากอาการปวดไม่ดีขึ้น

อาการปวดเส้นประสาทต่างจากอาการปวดชนิดอื่นอย่างไร?
อาการปวดเส้นประสาทที่เกิดตรงบริเวณหลังส่วนล่าง จะแตกต่างจากอาการเจ็บปวดประเภทอื่น เนื่องจากระบบประสาทเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง (2)
ปกติแล้ว ความเจ็บปวดเป็นวิธีที่ระบบประสาทใช้บอกว่าส่วนหนึ่งของร่างกายเราได้รับความเสียหาย โดยเรียกอาการปวดแบบนี้ว่า nociceptive หรือ ความปวดที่เกิดจากการกระตุ้นตัวรับความปวด อาการปวดเส้นประสาท อาจเรียกอีกอย่างว่าเป็นโรคหรือกลุ่มอาการของโรคที่เกิดกับระบบประสาท ซึ่งเป็นการเกิดขึ้นพร้อมกันของการบาดเจ็บโดยตรงกับกลุ่มอาการของโรคที่เกิดกับระบบประสาท เรียกว่า อาการปวดแบบผสม (mixed pain) (2)
ผู้ที่มีอาการปวดเส้นประสาทอาจมีความรู้สึกปวดแปลบเหมือนโดนแทง โดนยิง หรือโดนไฟฟ้าช็อต (3) อาการเหล่านี้เป็นสัญญาณว่าเส้นประสาทเสียหาย และมักจะไม่เกิดขึ้นกับความเจ็บปวดประเภทอื่น ๆ (2)

คุณรู้จักใครที่มีอาการปวดเส้นประสาทหรือไม่?
คุณอาจรู้จักใครที่มีอาการคล้ายอาการปวดหลังส่วนล่างและมีอาการปวดเส้นประสาทร่วมด้วย? หากคุณรู้จัก คุณสามารถทำตามขั้นตอนปฏิบัติต่าง ๆ เพื่อช่วยผู้ที่ประสบอาการเจ็บปวดอย่างต่อเนื่องนี้ได้

References:
- Freynhagen R, et al. PainDETECT: A New Screening Questionnaire to Identify Neuropathic Components in Patients with Back Pain. Curr Med Res Opin. 2006;22:1911-1920.
- Haanpää ML, et al. Assessment of Neuropathic Pain in Primary Care. Am J Med. 2009;122(10 Suppl):S13-21.
- Freynhagen R, et al. The Evaluation of Neuropathic Components in Low Back Pain. Curr Pain Headache Rep. 2009;13(3):185-190.
- Walker BF. The Prevalence of Low Back Pain: A Systematic Review of the Literature from 1966 to 1998. J Spinal Disord. 2000;13(3):205-217.
- Sakai Y, et al. Neuropathic Pain in Elderly Patients with Chronic Low Back Pain and Effects of Pregabalin: A Preliminary Study. Asian Spine J. 2015;9(2):254-62.
- Freynhagen R, et al. Diagnosis and Management of Neuropathic Pain. BMJ. 2009;339:b3002.
- Meyer HP. Neuropathic Pain - Current Concepts. SA Fam Pract. 2008;50(3):40-49.
- Harden N, et al. Unmet Needs in the Management of Neuropathic Pain. J Pain Symptom Manage. 2003;25(5 Suppl):S12-17.